บทนำ
พลังงาน คือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน กิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนการผลิตและบริการ การใช้พลังงานก่อให้เกิดต้นทุนอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้จำเป็นต้องจ่ายเช่น ไฟฟ้า น้ำ ลม ฯลฯ ถ้ามีการใช้อย่างไม่เหมาะสมก็จะต้องจ่ายมากกว่าที่ควร แต่การที่จะทำให้ผู้ใช้พลังงานมีความรู้สึกรับผิดชอบ และรับรู้ถึงความจะเป็นในการประหยัดคงมิใช่เรื่องง่าย
ดังนั้น การอบรมเรื่อง จิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร จึงมีความจำเป็นโดยในการฝึกอบรม จะเน้นการปลูกฝังให้เกิดเป็นวัฒนธรรมและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ในด้านข้อมูล และที่สำคัญการจูงใจ และการโน้มน้าวใจผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบถึงความจำเป็นและผลกระทบและวิธีการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนในองค์กร
หลักการทำให้เกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ สามารถทำได้โดยให้บุคคลนั้นๆรับทราบและตระหนักถึงการการใช้งานรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นใช้หลักการดึงความสามารถของบุคคลนั้นออกมาใช้ในการเสนอแนะวิธีการอนุรักษ์เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของผลงาน และการยกย่อง จนทำให้บุคคลนั้นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานโดยปริยาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจความจำเป็นในการอนุรักษ์พลังงานในองค์กรและผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบวิธีการอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำเทคนิคการอนุรักษ์ต่างๆเข้ามาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
บทนำ
– ความหมายของพลังงาน
– การจำแนกประเภทของพลังงาน
– ข้อมูลพลังงานในประเทศไทย
– ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน
– เหตุผลของการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานในองค์กร
การปรับปรุงเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน
– ขั้นตอนการ อนุรักษ์พลังงาน
– สำรวจรายการอุปกรณ์และประเมินการใช้ในปัจจุบัน
– Workshop คิดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน W V A เป็นบาท เช่น หลอดไฟ แอร์ ปั้มน้ำ ฯลฯ
– การคิดสัดส่วนการใช้พลังงาน
– Workshop
– การคิดค่าสูญเสียจากการใช้ปั้มลม
– Workshop
– เรทการคิดค่าไฟฟ้าแต่ละประเภท ระบบการทำงานของอุปกรณ์แต่ละประเภทและแนวทางอนุรักษ์
– การประหยัดพลังงานระบบแสงสว่าง
– การประหยัดพลังงานระบบปรับอากาศ
– การประหยัดพลังงานสำหรับคอมพิวเตอร์
– การประหยัดพลังงานสำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร
– การประหยัดพลังงานสำหรับกระติกน้ำร้อน
– การประหยัดพลังงานสำหรับตู้เย็น
– ลดการเดินมอเตอร์ตัวเปล่าที่ไม่ได้ใช้งาน
– การคำนวณจุดคุ้มทุนเพื่อการตัดสินใจ
การเขียนข้อเสนอแนะ การอนุรักษ์พลังงาน
– ฝึกปฏิบัติ (Workshop) และนำเสนอผลงาน
– แผนการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในองค์กรอย่างยั่งยืน
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– ทำกิจกรรมโดยใช้ชุดประเมินการใช้พลังงานในองค์กรและการเขียนข้อเสนอแนะเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
– กิจกรรมกลุ่มทำเป็นคู่หรือกลุ่มละไม่เกิน 5 คน และใช้หลักการคิดระดมสมองในการประเมินและเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์