หลักสูตร Internal Auditor GHP & HACCP rev.5-2020 (Codex)

บทนำ
GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ โคเด็กซ์ (CODEX) ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร

การเปลี่ยนชื่อจาก GMP เป็น GHP เนื่องจากต้องการให้ชื่อของมาตรฐานชัดเจน และครอบคลุมอุตสาหกรรมที่สามารถขอการรับรองมาตรฐานนี้ได้มากขึ้น เพราะ GMP เดิมนั้นตัว “M” ย่อมาจากคำว่า “Manufacturing” แปลว่า “การผลิต” ทำให้เกิดความสับสนกับบางอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต เช่น การจัดเก็บ การขนส่ง การให้การบริการ ที่ขอการรับรองมาตรฐาน พอเปลี่ยนเป็น GHP ซึ่ง ตัว “H” ย่อมาจากคำว่า “Hygiene” เพื่อให้สามารถครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ “Food Chain” หรือ “ห่วงโซ่อาหาร” ว่าทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่เริ่มต้น GMP เดิมนั้นมีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 10 ข้อกำหนดหลักด้วยกัน โดยแต่ละข้อจะระบุ ข้อกำหนดย่อยเป็นอิสระ เช่น 9.1, 10.1 เป็นต้น และแยก HACCP อยู่ในส่วนของภาคผนวก (Annex)แต่ GHP มีการเขียนข้อกำหนดที่ต่างไปจากเดิมคือ มีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 9 ข้อกำหนดหลักก็จริงแต่ข้อกำหนดย่อยนั้นจะต่อเนื่องกันไป โดย GHP นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 9 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1 – 134 ส่วน HACCP นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 3 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 135 – 189
HACCP คือ Hazard Analysis Critical Control Point เป็นมาตรฐานการผลิต ที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร ซึ่งรายละเอียดในข้อกำหนดจะกล่าวถึง การวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอน ของการดำเนินกิจกรรมใด ๆ โดยมีกระบวนการดำเนินงานเชิงวิทยาศาสตร์ คือมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่า มาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลา
อันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร คือคุณลักษณะทางชีวภาพ เคมี หรือกายภาพ ที่มีอยู่ในอาหาร หรือสภาวะของอาหาร ที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค แบ่งเป็น
ทางชีวภาพ (Biological hazards)
ทางเคมี (Chemical hazards)
ทางกายภาพ (Physical hazards)

การตรวจประเมินภายใน Internal Audit  เป็นกระบวนการหนึ่งที่ถูกระบุไว้ในข้อกำหนดของระบบบริหารเพื่อทำให้องค์กรได้มีกิจกรรมการตรวจประเมินเพื่อ
• เพื่อให้ทราบถึงสภาวะและสืบหาบ่งชี้ต้นเหตุของปัญหาในระบบบริหารคุณภาพสำหรับการปรับปรุงแก้ไข
• เพื่อป้อนรายงานผลที่ถูกต้องต่อฝ่ายบริหารในเรื่องของผลการนำเอาระบบไปใช้
• เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด และได้การรับรองจากการตรวจโดยบุคคลที่ 3 ( CB )
ทราบความสอดคล้องของการดำเนินงานกับ
1) ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพขององค์กรหรือไม่
2) ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้หรือไม่
ในกระบวนการตรวจประเมินมี ISO19011 ได้มีการระบุกระบวนการตรวจประเมินเพื่อให้ทุกองค์กรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการตรวจให้มีประสิทธิภาพสามารถประเมินและค้นพบปัญหาได้กระบวนการภาพรวมได้ถูกอธิบายไว้ในภาพ

การเข้าตรวจประเมินที่หน้างานทีมผู้ตรวจนั้นจะต้องมีความพร้อมและความเข้าใจในกระบวนการตรวจประเมินซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถตรวจประเมินได้ทุกกระบวนการดังนี้ผู็ตรวจจึงต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานที่ดี
  สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในระหว่างการตรวจประเมินซึ่งอาจจะเจอเหตุการณ์มากมายที่เป็นอุปสรรคในการตรวจเช่น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจขั้นตอนการตรวจประเมิน GHP HACCP ตามแนวทางการตรวจประเมินของ ISO19011 และสามารถดำเนินการตรวจประเมินเพื่อทำให้สามารถทราบสถานะของการดำเนินการตามระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจสำหรับผู้ตรวจประเมินในที่ได้รับการอบรมข้อกำหนดมาแล้ว

จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น

หัวข้อฝึกอบรม
บทนำ
– วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน
– ประเภทของการตรวจประเมิน
– ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
– ผู้เกี่ยวข้องในการตรวจประเมิน 3 ส่วน
– ขั้นตอนในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
การเตรียมการกิจกรรมการตรวจประเมิน
* การทบทวนเอกสารเพื่อเตรียมตัวสำหรับการตรวจประเมิน
* การวางแผนการตรวจประเมิน
* การมอบหมายงานให้แก่ผู้ตรวจประเมิน
* การจัดทำ Check List , WORK SHOP
กิจกรรมการตรวจประเมิน
* การประชุมเปิด
* เทคนิคการตรวจและการสัมภาษณ์
* เทคนิคการบันทึกผลการตรวจติดตาม
* WORK SHOP ตรวจติดตามหน้างาน
* การวิเคราะห์สิ่งที่ตรวจพบและการเขียนใบ CAR
* การประชุมปิด
กิจกรรมหลังการตรวจประเมิน
* การสรุปผลและจัดทำรายงานการตรวจประเมิน
* การติดตามประเมินผลการจัดการปัญหา

เอกสารเฉพาะที่ลูกค้าต้องจัดเตรียม
1. เอกสารของระบบที่ต้องการทำ WORKSHOP การตรวจประเมิน

REMARK รายการที่ 1,2 ให้จัดเตรียม 6 ชุด ( 1ชุด=5คน )

Total Page Visits: 1101 - Today Page Visits: 1