บทนำ
ทุกกิจกรรมมีการใช้ปัจจัยสำหรับการผลิต เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วิธีการ วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ใช้เพื่อสำหรับการเพิ่มผลลิตซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม แต่ปัญหาที่พบคือไม่มีปัจจัยใดที่จะมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ตลอด จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดทั้งความสูญเสียและสูญเปล่า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อทำให้สภาพการทำงานเป็นปกติ
Kaizen คือปรัชญาและวิธีการ “ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” แนวคิดนี้เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกา มาช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วง ค.ศ. 1949-1950 โดย W. Edwards Deming ได้มีการเข้ามาฝึกอบรมเรื่องการใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 The Economic and Scientific Section (ESS) ได้รับมอบหมายให้มีการพัฒนาทักษะด้านการจัดการให้กับระดับหัวหน้างาน โดยใช้หลักการของ Training Within Industry (TWI) ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับหัวหน้างานทุกระดับ
หนึ่งในโปรแกรมฝึกอบรมนั้นคือ “การปรับปรุงใน 4 ขั้นตอน” หรือที่เรียกว่า “Kaizen eno Yon Dankai.” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนญี่ปุ่นรู้จักคำว่า Kaizen จากนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ TOYOTA ได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาต่อ ใน ค.ศ. 1930 โดย Dr. Taiichi ohno and Dr. Shigeo shingo สองคนนี้ร่วมกันพัฒนาปรัชญาและวิธีการ Kaizen โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่ในหลักการ Job method คือ 5W1H และ ECRS
เข้ามาใช้โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการระบุและกำจัด “Muda” หรือของเสียในทุกพื้นที่รวมทั้งกระบวนการผลิตและในปี 1986 Dr.Masaaki Imai ได้แนะนำให้โลกตะวันตกรู้จัก “Kaizen” ผ่านหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “ Kaizen : The Key to Japan’s Competitive Success ”KAIZEN แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
อ้างอิง “ Kaizen : The Key to Japan’s Competitive Success ”
การ KAIZEN แบบกลุ่ม ใช้กับปัญหาที่มีความยากในการจัดการขึ้นอีกระดับ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการจัดการ และมีกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปนิยมแก้ไขปัญหาระดับนี้ผ่าน กิจกรรมกลุ่มย่อย
Small Group Activity กิจกรรมกลุ่มย่อย คือ กลุ่มคนที่เกิดการรวมตัวกันไม่มากนักเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ซึ่งกลุ่มย่อยจะมีลักษณะเด่น 3 ประการคือ สามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน
ปัจจุบันหลายๆองค์กรได้มีการนำกลุ่มย่อยที่มีมาดำเนินการส่งเสริมความรู้และทักษะ เพื่อนำไปปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพการทำงานซึ่งจะพบว่าอัตราการประสบผลสำเร็จจะสูงเนื่องจะพื้นฐานของกลุ่มย่อยเอง ดังนั้นทีมงานหรือผู้ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มย่อยจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อทำให้กิจกรรมกลุ่มย่อยนั้นมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและสามารถรักษากลุ่มให้เกิดขึ้นในองค์กร
ปัจจุบันหลายๆองค์กรทั่วโลกได้ให้การยอมรับว่ากิจกรรม Kaizen นี้เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยในการยกระดับการบริหารงานขององค์กรได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นการปรับปรุงโดยตัวผู้ปฏิบัติงานที่หน้างานเอง จึงทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงสามารถรักษาสภาพได้และดีขึ้นแต่ปัญหาที่พบในการทำกิจกรรมของแต่ละองค์กรก็ย่อมแตกต่างกันไป
โดยการทำกิจกรรม Kaizen ทีมงานจะได้รับความรู้ ผ่านขั้นตอนการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ และ การแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันในกลุ่ม
เพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างถูกต้องตามเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรม ทุกๆองค์กรจึงได้มีการแต่งตั้ง “ การส่งเสริมการทำกิจกรรมไคเซ็น ( KAIZEN Facilitator ) ” ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ดังนี้
1. ร่างกฎเกณฑ์การดำเนินกิจกรรม และ แผนการดำเนินกิจกรรมทั่วทั้งองค์กร
2. สื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแรงกระตุ้น
3. จัดให้มีการศึกษาฝึกอบรม ความรู้ที่เกี่ยวกับขั้นตอน , เครื่องมือ , การบริหารทีมงาน
4. จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรม
5. ประเมินผลและติดตามความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมแต่ละกลุ่ม
6. ประเมินผลหลังทำกิจกรรมและกำหนดแผนการส่งเสริมในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อทำให้ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการดำเนินการติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ทั้งในระหว่างดำเนินกิจกรรม และหลังการดำเนินกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานส่งเสริมการทำกิจกรรมไคเซ็น ( KAIZEN Facilitator )
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
บทนำ
– ประวัติความเป็นมาของ KAIZEN
– KAIZEN 3 ประเภท
– ปัญหาและสาเหตุส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น
– แนวทางการส่งเสริมในแต่ละสาเหตุ
– การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้
– การฝึกอบรม
– การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม
Kaizen Facilitator
– หน้าที่และคุณสมบัติของทีมส่งเสริม
การติดตามประเมินผลดำเนินกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา
– การบ่งชี้ปัญหาของกลุ่มการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
– Workshop บ่งชี้ปัญหาของกิจกรรม
– การจัดทำแผนส่งเสริมก่อนการดำเนินกิจกรรม
– Workshop แผนส่งเสริมป้องกันปัญหา
การติดตามประเมินผลในระหว่างการดำเนินกิจกรรม
– การบ่งชี้ปัญหาของกลุ่มระหว่างการดำเนินกิจกรรม
– Workshop กำหนดแนวทางการส่งเสริม/การส่งเสริมเพื่อจัดการปัญหา
– การติดตามประเมินผลหลังการส่งเสริม
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
ส่งที่องค์กรต้องเตรียม
– ข้อมูลการทำกิจกรรม KAIZEN ขององค์กร และผลการประเมิน