หลักสูตร Lean Manufacturing System and Management 2 วัน

บทนำ
คำว่า “Lean” ถูกกล่าวขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 จากในหนังสือภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า “The machine that changed the world” โดยทีมวิจัยและพัฒนาจาก MIT นำโดย James P. Womack (ผู้ก่อตั้ง Lean Enterprise Institute)ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเกิดจากการศึกษา, วิเคราะห์ และเปรียบเทียบโรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และยุโรปว่าทำไมญี่ปุ่นจึงประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตรถยนต์ มากกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ความเป็นมาของแนวคิดต่างๆ

ระบบการผลิตแบบลีน และการจัดการ Lean Manufacturing System and Management นั้นเป็นระบบที่มองเรื่องของการกำจัดความสูญเปล่า หรือกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และบริการ (Non Value Added Activity) โดยเฉพาะความสูญเปล่า 7 + 1 ประการ (7+1 Wastes)
ซึ่งการจะกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นนั้นระบบลีนจะใช้เครื่องมือ (Lean Tools) เข้าช่วยสนับสนุนเพื่อให้องค์กรบรรลุสู่ True North concept ของลีนซึ่งเป็นในทางอุดมคติ (Ideal State) คือ On demand immediate, One by one (Zero changeover), Zero Defect, Zero Waste and Lowest cost, Zero Accident
เทคนิคหนึ่งของลีนในการกำจัดกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Non Value Added) โดยเฉพาะความสูญเปล่าตัวร้ายอย่างสินค้าคงคลัง (Inventory) นั้น คือการใช้สายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพกว้างขององค์กร เพื่อดำเนินการปรับกระบวนการให้มีการไหลอย่างต่อเนื่อง (Flow) การผลิตที่มีการดึงงานโดยกระบวนการถัดไป (Pull) ตลอดจนการดำเนินการสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection) ตามแนวคิดของระบบการผลิตแบบลีน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาได้เข้าใจถึงหลักการและแนวคิดของระบบการผลิตแบบลีน และการจัดการ Lean Manufacturing System and Management และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิค/เครื่องมือลีน รวมถึงการออกแบบกระบวนการทีดีตั้งแต่ครั้งแรก
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาได้เข้าใจ ถึงขั้นตอนในการดำเนินการระบบลีนและเข้าใจความสูญเปล่า (7+1 Wastes) ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ

ระยะเวลา : 2 วัน (09.00-16.00 น.) ภายใน 1 สัปดาห์
จำนวนผู้เข้าอบรม : ไม่เกิน 30 คน

หัวข้อสัมมนา
– หลักการสำคัญของการผลิต
– ประวัติของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing History)
– ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System)
– ความหมายและแนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Thinking)
– การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
– แนวคิดต้นทุน และกำไรของลีน
– 5 ขั้นตอนของการดำเนินการลีน (5 Steps of Lean)
– ความสูญเปล่า 7+1 (7+1 Wastes) และ 3 MU
– Wastes Identification และ 3 Gen
– ผลที่ได้จากการทำลีน
– ความแตกต่างของการผลิตแบบดั้งเดิม และการผลิตแบบลีน
– Lean vs Six Sigma
– สายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping)
– 5ส. และการจัดการสถานที่ปฏิบัติงาน (5S and Visual Factory)
– A3 Process Management
– Batch Production and One piece flow
– ทฤษฎีข้อจำกัด (Theory Of Constraints: TOC)
– การปรับเรียบสายการผลิตและเวลาแท็ค(Leveling Production and Takt Time)
– การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตเร็ว (Quick Changeover)
– การบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance)
– การวัดค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness)
– ระบบดึง (Pull System)
– การป้องกันความผิดพลาด (Poka Yoke)
– ระบบคัมบัง (Kanban System)
– มาตรฐานการทำงาน (Standardized)
– การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
– Q&A

รูปแบบการอบรม : บรรยาย / ฝึกปฏิบัติ Workshop
สิ่งที่บริษัทที่เข้าอบรมต้องจัดเตรียม :
1.กระดาษ A0 4 ชุด
2.Flow Chart การผลิตสินค้า

 

Total Page Visits: 1008 - Today Page Visits: 1